DCA ลงทุนหุ้นช่วง COVID-19 จากมุมมองนักวิเคราะห์

โดยคุณสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ และกรรมการผู้อำนวยการ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน

ในหลายปีที่ผ่านมา นักลงทุนหลายคนที่ DCA มาระยะหนึ่งแล้วเจอสถานการณ์ หรือวิกฤติจาก COVID -19 รู้สึกไม่มั่นใจ เพราะพอตลาดขาลง ก็กังวลว่าจะเอามือไปรับมีด  ถูกไม่กลัว กลัวถูกกว่า บ้างก็ช้อนหักไปหมดแล้ว เลยน่าจะเกิดคำถามกันมากว่า “แล้ววิธีการลงทุนแบบ DCA ยังใช้ได้อยู่ หรือป่าว” จะตอบคำถามนั้นได้ เราก็ต้องกลับมาดูที่หลักการกันนะครับว่าการลงทุนในหุ้นแบบ DCA นั้นเป็นอย่างไร

การลงทุนในหุ้นด้วยวิธี DCA นั้น เป็นหลักการลงทุนที่ดีอยู่แล้ว เพราะมันถูกออกแบบมาให้นักลงทุนกระจายจังหวะลงทุน จังหวะเวลา ทำให้เราไม่เสี่ยงที่จะคาดเดาการลงทุนเพียงครั้งสองครั้ง เพราะหลายเหตุการณ์ มันคาดไม่ถึงจริงๆ อย่างเช่น ครั้งนี้ เหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ก่อนเลยก็คือ การระบาดของโรค COVID -19 ที่กระจายไปทั่วโลกแต่ถ้าเป็นปัญหาเศรษฐกิจอย่างอื่น มันยังพอคาดการณ์กันได้บ้าง ดังนั้นการลงทุนแบบ DCA แม้ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่เราเจอจังหวะวิกฤติโรคระบาดแล้ว โดยหลักของมัน มันยังดีอยู่ในตัวมันเอง เนื่องจากว่ามันเป็นการกระจายจังหวะ และต้องเป็นการลงทุนที่มองแบบระยะยาว 2-3 ปีขึ้นไป

ในการลงทุนแบบ DCA บางจังหวะเวลาช่วงวิกฤติ DCA ก็จะต้องกินเวลานานหน่อย กว่าจะออกดอกออกผล แต่ถ้าในสถาการณ์ปกติ ก็ใช้เวลาเพียงแค่ 2-3 ปีก็เห็นผล ซึ่งอีกส่วนที่สำคัญของการลงทุนแบบ DCA นั่นก็คือ การ DCA ที่ดี ต้อง DCA แบบกระจายสินทรัพย์ลงทุนด้วย

การกระจายสินทรัพย์ลงทุนก็หมายความว่า เราไม่ใช่จะมาลงทุนหุ้นอย่างเดียว เงินของเราก็คงจะต้องอยู่ในสินทรัพย์อื่น ที่อาจจะเกิดดอกออกผลมากน้อย ซึ่งเป็นไปตามความเสี่ยงของแต่ละสินทรัพย์ เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร กองทุนพันธบัตร หรือจะเป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาจจะต้องมีหุ้นที่กระจายอยู่ในตลาดต่างประเทศด้วย  เพราะฉะนั้นก็อาจจะหมายถึง ทองคำ หรือกองทุนทองคำ อาจจะมีกองทุนอสังหาฯ หรือ REITs นี่คือการกระจายหลายๆ สินทรัพย์เพราะว่า ในแต่ละปีตราสารแต่ละประเภท ก็จะมีการสลับขั้วสลับข้างกันบ้าง

เราก็จะเลือกกระจายสินทรัพย์มาช่วยให้ “ไม่ลุ้นที่จะต้องโชคดีที่สุด แต่ก็ไม่โชคร้ายที่สุด” การได้ค่ากลางในสินทรัพย์ซึ่งเกิดดอกออกผลที่ดีพอสมควร

สมมติเราแบ่งเงินของเรา เช่นอยู่ในหุ้น 30%-40% เป็นหุ้นใน หุ้นนอกอย่างละครึ่ง 20% ก็จะเป็นหุ้นไทย ใน 20% ต้องไม่อยู่ในหุ้นเดียว จะต้องมีหลายหุ้น หลายธุรกิจ หากเราบอกว่าเรากระจายไปตั้ง 3 หุ้น แต่เป็นหุ้นธนาคารหมดเลย แบบนี้ก็ยังไม่ได้เรียกว่ากระจาย เพราะธนาคารจังหวะที่เจอมรสุมอาจจะไปพร้อมๆ กัน ก็ต้องกระจายไปหลายธุรกิจ ซึ่งมีความแตกต่างกัน ถ้าเรากระจายการลงทุนไปสัก 5-6 ธุรกิจ จะช่วยให้ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนนั้นเกลี่ยกันไปในระดับกลางๆ แต่ถ้ามองว่าหลายตัวเกินไปก็แนะนำ อาจจะลงทุนเป็นกองทุนดัชนี ที่อ้างอิง SET50 หรือ Index ต่างๆ เราก็อาจจะซื้อเป็นกองทุน ซึ่งกระจายธุรกิจค่อนข้างมากอยู่แล้ว ตามน้ำหนักดัชนี กองทุนดัชนีนั้น ผมคิดว่าอาจจะคุ้มที่เราไม่ต้องไปนั่งคัดหุ้นเอง

ประเด็นหนึ่งเรื่องของการลงทุนแบบ DCA สมมุติว่าเราเคย DCA อะไรมาในอดีตสัก 5 หุ้น 7 หุ้น วันข้างหน้าการ DCA ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นเดิมตลอดเวลา ถ้าเกิดจากการวิเคราะห์ไปข้างหน้าพบว่า หุ้นตัวเดิมไม่ค่อยดี แต่มีตัวใหม่ที่น่าจะดูดีในอนาคต ผมคิดว่า DCA ไม่จำเป็นต้องซ้ำที่เดิมได้ และโดยเฉพาะ ภายใต้สถานการณ์ COVID-19  ต้องเลือกลงทุนแบบ DCA จากข้อมูลของหุ้นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะว่าวิกฤติครั้งนี้ จะกระทบธุรกิจหลายธุรกิจ จะทำให้การดำเนินชีวิตของคนทั่วไปเปลี่ยนไป โดยเฉพาะพฤติกรรมของคนในระยะยาวหลังจากนี้ เช่น การที่จะทำกิจกรรมที่ต้องรวมอยู่กัยผู้คนเยอะๆ คนก็คนหลีกเลี่ยงไปพอสมควร ธุรกิจสื่อสารผู้คนก็คงต้องใช้เพิ่มขึ้น ธุรกิจประกันภัย ประกันสุขภาพ ก็จะมีคนให้ความสำคัญมากขึ้น อย่างกลุ่มหุ้นแนะนำ จากการสำรวจจากนักวิเคราะห์ กลุ่มธุรกิจที่จะฟื้นกลับ และคาดว่าจะดีขึ้นในอนาคตได้แก่

ADVANC
ธุรกิจสื่อสารการทำงาน Work From Home ซึ่งทำแล้วก็คงไม่เลิกเปล่า เพราะหลายคนก็เริ่มติดใจ การใช้บริการทางอินเทอร์เน็ต Data Roaming ต่างๆ ก็จะทำให้ธุรกิจจากตอนนี้ไปจะดีขึ้น นักวิเคราะห์ก็มองว่าปีนี้ 2020 กำไรจะยืนได้ด้วยซ้ำไป ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ซึ่งไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายๆแบบนี้ กำไรต่อหุ้นประมาณสัก 10.40 บาทต่อ  ในเชิงของเงินปันผล ตัวเลขดูน่าสนใจ ยังสูงอยู่ ก็คือประมาณ 4% กว่า

CPALL
นักวิเคราะห์มองว่าธุรกิจ 7-11 ก็เห็นได้ชัดว่าจะเป็นการค้า-ธุรกิจที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่มีมาตรการของรัฐ ให้เงินสนับสนุนหรืออะไรต่างๆ ก็มักจะเน้นไปที่ประชาชนทั่วไปซึ่งก็เป็นกลุ่มฐานลูกค้า ของ CPALL อยู่แล้ว เงินเยียวยาต่างๆ นอกจากนั้นธุรกิจนี้เป็นธุรกิจจำหน่ายอาหารสินค้าจำเป็นในการดำรงชีพ โดยโครงสร้างเทียบกับสภาวการณ์เศรษฐกิจ อย่างเศรษฐกิจไม่ดี สินค้าพวกนี้มักจะไม่ตกหล่นเท่าไหร่ ประกอบด้วยมาตรการรัฐช่วยนี้ก็น่าจะดูดี อนาคตก็เห็นว่า CPALL มีคิดมีปรับรูปแบบในเรื่องของ Delivery ขึ้นมา ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนมองว่า ธุรกิจอย่าง CPALL ยังไปได้ดีในอนาคตครับ ระดับมูลค่ามองไว้ประมาณสัก 83 บาท ถ้าเทียบราคาหุ้นที่ 60 กว่าบาท ในเชิงมูลค่าก็ยังถือว่ามีอัพไซซ์อยู่หลาย 10%

CPF
แน่นอนครับธุรกิจอาหารแล้วก็ยังป็นผู้ถือหุ้นของ CPALL ด้วย ก็มีอนาคตธุรกิจที่ดูดี มีแนวโน้มที่ดี แล้วก็เชื่อว่าไตรมาสที่ยืนกันอยู่ในปัจจุบัน ก็ถือว่าแทบไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากนัก เพราะธุรกิจเป็นสินค้าจำเป็น สิ่งที่ดำเนินการอยู่ก็คือการไปลงทุนไปซื้อใน เทสโก้โลตัส ก็คงอยู่ในขั้นตอนของการเดินหน้า ตัวของ CPF นักวิเคราะห์มองว่ากำไรปี 20 อยู่ที่ 2.23 บาท ดีกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย ปีหน้ากำไรก็จะขยับขึ้นไปอีก ก็ยังไปได้พอสมควร มูลค่าในเชิงทฤษฎีก็อยู่ที่ 34 บาท จากการวิเคราะห์โดยเฉลี่ยของสำนักวิจัย สูงกว่าราคาปัจจุบันที่วิ่งอยู่แถวๆ 20 กว่าบาท หลาย 10%

INTUCH
เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ADVANC หุ้นตัวนี้ก็โยงใยกันมาจากการเป็นผู้ถือหุ้นด้วย ตัวธุรกิจจึงได้รับผลกระทบน้อยจากภาวการณ์โรคระบาดครั้งนี้ เมื่อมองไปข้างหน้าก็ยังดูดีอยู่ นักวิเคราะห์ก็มองกันว่าสถานะการเงินแข่งแกร่ง แล้วที่ผ่านมามีการจ่ายปันผลที่ดี ที่สูงมาต่อเนื่อง สำหรับ INTUCH นักวิเคราะห์ก็ประมาณการณ์มูลค่าที่เหมาะสมเอาไว้ค่อนข้างสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบันอยู่มากจากปัจจุบัน

RATCH ธุรกิจไฟฟ้า นักวิเคราะห์มองผลการดำเนินงานก็ยังสามารถไปได้ต่อเนื่องไปด้วยดี มูลค่าที่นักวิเคราะห์มองสำหรับตัว RATCH ก็อยู่ที่ 73 บาท ซึ่งราคาหุ้นก็ลองเปรียบเทียบดู เนื่องจากว่ามีการ rebound ขึ้นมาพอสมควร

ที่ยกตัวอย่างมา 5 หุ้น “ผู้รอด” จากพิษ COVID-19 จากการประเมินของนักวิเคราะห์การลงทุนหลายสำนัก ทั้ง ADVANC CPALL CPF INTUCH RATCH ซึ่งล้วนมี upside กว่า 20% และหลายตัวก็โดดเด่นในเรื่องเงินปันผลด้วย ที่สำคัญธุรกิจเหล่านี้ล้วน “จำเป็น” มากขึ้น ในช่วงที่ชีวิตเราทุกคนต้องเลือกตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากชีวิต

เมื่อมีหุ้นรอด…ก็ย่อมมีหุ้นที่ “ไม่น่ารอด”
ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนหลังจากวิกฤติ Covid-19

– การท่องเที่ยว การเดินทางโดยเครื่องบิน แน่นอนว่าบรรดาธุรกิจสายการบินชีวิตอาจจะไม่เหมือนเดิม อย่างที่เราเรียนรู้ว่าเพิ่งรู้ละเอียดเดี๋ยวนี้เองว่าอยู่ในเครื่องบินแคบๆ หลายชั่วโมงมันเสี่ยงต่อสุขภาพเยอะ แม้จะไม่มี COVID-19 มันก็ยังมีโรคอื่นอย่างนี้เป็นต้น ผู้คนก็อาจจะคิดในเรื่องของการเดินทางไม่เหมือนเดิม สนามบินก็อาจจะไม่กลับไปมีชีวิตดีเท่าเดิมในช่วงปีสองปีข้างหน้า นั่นก็ผมคิดว่าจะไม่ใช่ธุรกิจที่เราจะเลือกมา DCA ช่วงนี้

– กลุ่มพี่พึ่งพิงกำลังซื้อจากรายย่อย เช่น สินเชื่อรายย่อย บัตรเครดิตที่เน้นลูกค้ากลุ่มรากหญ้า ผมคิดว่าถ้าไม่ใช่สิ่งจำเป็นจะเหนื่อย รวมไปทั้งธุรกิจที่อยู่อาศัย เนื่องจากลูกค้าต้องใช้การสร้างหนี้เข้ามาในการซื้อจับจองเป็นเจ้าของก็ไม่น่าจะฟื้นตัวได้ง่ายดายนัก

บทความอื่นๆ